วันอาทิตย์ที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

การจับคอร์ดกีต้าร์ไฟฟ้า

การจับคอร์ดกีต้าร์ไฟฟ้า

คอร์ดกีต้าร์ คอร์ดหลักๆที่สามารถพบได้บ่อยๆ คอร์ด Major และ Minor
      โดยหลักๆแล้วเราสามารถแบ่งคอร์ดที่สำคัญ และพบได้บ่อยๆ ออกได้เป็นสองทางหลักๆก็คือ คอร์ดทางเมเจอร์(Major) และคอร์ดทางไมเนอร์(Minor) ( ไม่ใช่ว่าคอร์ดจะมีแค่เมเจอร์ และไมเนอร์เท่านั้นนะครับ ยังมีคอร์ดแบบอื่นอีกมาก เช่นคอร์ดเซเว่น(7) คอร์ดซัสโฟว์(sus4) คอร์ดออกเมนเต็ด(+) เป็นต้น แต่จะพูดถึงและยกตัวอย่างคอร์ดหลักๆที่พบได้บ่อยๆก่อน )
      คอร์ดทาง Major เช่นคอร์ด C, E, F, G ซึ่งจริงๆแล้วจะมีคำว่า “major” ต่อท้ายชื่อคอร์ดเอาไว้ เช่นคอร์ด C จะเขียนเละเรียกเต็มๆว่า “Cmajor” (ซีเมเจอร์) แต่เวลาเขียนชื่อคอร์ดส่วนใหญ่แล้วเราจะไม่เขียนคำว่า “major” เอาไว้ ดังนั้นเวลาเจอคอร์ด ไม่ว่าจะเป็นคอร์ด C หรือ Cmajor ให้จำไว้ว่ามันคือคอร์ดเดียวกัน แต่ส่วนมากจะเขียนและเรียกสั้นๆว่า “คอร์ด C” เท่านั้น
      คอร์ดทาง Minor เช่นคอร์ด Am, Em, Fm, Gm สังเกตว่าจะมีตัวเอ็มเล็ก “m” ต่อท้าย ซึ่งก็แทนคำว่า “Minor” นั้นเอง เช่นคอร์ด Em ก็จะอ่านว่า “อีไมเนอร์”, คอร์ด Am ก็จะอ่านว่า “เอไมเนอร์” ดังนี้เป็นต้น
      Tip1: การที่จะสังเกตว่าคอร์ดนั้นเป็นคอร์ดทางเมเจอร์ หรือไมเนอร์นั้น ให้ดูว่ามีตัว m (เอ็มเล็ก) ต่อจากชื่อคอร์ดหลักหรือไม่ ตัวอย่างเช่นคอร์ด Cm7,C#m7 มีก็แสดงว่าเป็นคอร์ดทางไมเนอร์, คอร์ด C7,Csus4 ไม่มี m (เอ็มเล็ก) ก็แสดงว่าเป็นคอร์ดทางเมเจอร์ รู้แล้วจะนำไปใช้ประโยชน์อะไรได้ละ? ดู tip2 ต่อครับ
      Tip2: การเล่นคอร์ดในเพลงจริงๆนั้น บางเพลงอาจจะมีคอร์ดที่จับอยาก หรือเราไม่เคยจับมาก่อน ไม่รู้ว่าจะต้องจับคอร์ดนั้นยังไง เราก็จับคอร์ดหลักแทน เช่น คอร์ด Cadd9 เราก็จับ คอร์ด C แทน, คอร์ด Bm9 ก็จับคอร์ด Bm แทน (บางท่านอาจจะ งง ว่าทำไมคอร์ด Bm9 ถึงไม่จับคอร์ด B แทนละ ทำไมถึงเป็น Bm ก็เพราะว่าคอร์ด Bm9 เป็นคอร์ดทางไมเนอร์นั้นเอง(สังเกตโดย tip1ที่ผ่านมา) การจะใช้คอร์ดหลักแทนนั้นต้องใช้ให้ถูกต้องนะครับ ต้องรู้ว่าคอร์ดที่เราจะจับแทนนั้นเป็นคอร์ดทางเมเจอร์ หรือไมเนอร์ เพราะว่าอารมณ์ของเสียงเมเจอร์กับไมเนอร์นั้นแตกต่างกันมากเลยทีเดียว) 
      ปล. Tip2 นี้แนะนำให้ใช้กับคนที่กำลังหัดเล่นหรือว่ายังจับคอร์ดที่ยากๆแปลกๆไม่ได้เท่านั้น ทางที่ดีควรจะจับให้ถูกต้องตามคอร์ดของเพลง จะได้เข้าถึงอารมณ์ของเพลงตามที่ผู้แต่งได้ถ่ายทอดไว้ในบทเพลงนั้นๆ และบางคอร์ดนั้นก็มีเสียงที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ไม่สามารถที่จะแทนได้ด้วยคอร์ดหลัก.


โครงสร้างของคอร์ด
      ก่อนจะเข้าเรื่องโครงสร้างของคอร์ด เรามาทำความรู้จักกับ Major Scal “เมเจอร์สเกล” กันก่อน
      เมเจอร์ สเกล นั้นถือว่าเป็นหลักพื้นฐานของสเกลอื่นๆ ทุกสเกลจะสร้างขึ้นมาโดยยึดหลักพื้นฐานโครงสร้างมาจากเมเจอร์สเกลเสมอ ดังนั้น เมเจอร์สเกลจึงถือเป็นแม่แบบของสเกลอื่นๆทั้งหมด รวมถึงการสร้างคอร์ดอีกด้วย โครงสร้างของของเมเจอร์สเกลนั้นคือ
โน้ตตัวที่ [ 3 กับ 4 ] และ [ 7 กับ 8 ] จะห่างกันแค่ครึ่งเสียง ส่วนโน้ตตัวอื่นจะห่างกัน 1 เสียงเต็ม
(ดูโครงสร้างของเมเจอร์สเกลได้จากรูปด้านล่าง)
โครงสร้างของเมเจอร์สเกล

คอร์ดกีต้าร์ - โครงสร้างของเมเจอร์สเกล


      ตัวอย่างแรก คอร์ดเมเจอร์ (Major)
      หลักในการสร้างคอร์ดเมเจอร์ก็จะยึดเอาโครงสร้างของเมเจอร์สเกลมาใช้ในการสร้างคอร์ด เช่นคอร์ด C ก็จะประกอบไปด้วยโน้ตตัวที่ 1,3,5 ของ C Major Scal = [C] – D - [E] – F - [G] – A – B ดังนั้นคอร์ด C ก็จะมีตัวโน้ต C – E – G เป็นต้น



ส่วนสูตรโครงสร้างของ Minor Scale ก็คือลดเสียงของโน้ตตัวที่ 3, 6 และ 7 ของเมเจอร์สเกล ลงครึ่งเสียง
(ดูโครงสร้างของไมเนอร์สเกลได้จากรูปด้านล่าง)
โครงสร้างของไมเนอร์สเกล

คอร์ดกีต้าร์ - โครงสร้างของไมเนอร์สเกล

      ตัวอย่างที่สอง คอร์ดไมเนอร์ (Minor)
      หลักในการสร้างคอร์ดไมเนอร์นั้น ก็จะยึดเอาโครงสร้างของเมเจอร์สเกลมาใช้ในการสร้างคอร์ดเช่นกัน เช่นคอร์ด Am ก็จะประกอบไปด้วยโน้ตตัวที่ 1,b3,5 ของ A Major Scal = [A] – B - [C#] – D - [E] – F# – G# สังเกตว่าโน้ตตัวที่ 3 จะติดแฟล็ท(เครื่องหมาย Flat : b หมายถึงลดเสียงลงครึ่งเสียง, เครื่องหมายชาร์ฟ Sharp : # หมายถึงเพิ่มเสียงขึ้นครึ่งเสียง) แล้วทำไมโน้ตตัวที่ 3 ถึงติดแฟล็ท ก็เพราะว่าเป็นคอร์ดไมเนอร์นั้นเองจึงต้องอิงกับโครงสร้างของไมเนอร์สเกลที่ว่า [ลดเสียงของโน้ตตัวที่ 3, 6 และ 7 ของเมเจอร์สเกล ลงครึ่งเสียง] จึงเกิดเครื่องหมาย b (แฟล็ท) หน้าตัวโน้ตตัวที่ 3 จึงได้เป็น 1,b3,5 นั้นเอง โน๊ตตัวที่ 3 ของ A Major Scal ก็คือ C# เมื่อติดแฟล็ทก็จะได้เป็น C นั้นเอง ดังนั้นคอร์ด Am ก็จะมีตัวโน้ต A – C – E ดังนี้เป็นต้น
รูปตัวอย่างคอร์ดกีต้าร์ คอร์ด Am










ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น