วันอาทิตย์ที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

มือกีต้าร์อันดับ 1 ของโลก

มือกีต้าร์อันดับ 1 ของโลก


เจมส์ มาร์แชลล์ เฮนดริกซ์ (อังกฤษ: James Marshall Hendrix) หรือชื่อเกิด จอห์นนี อัลเลน เฮนดริกซ์ (อังกฤษ: Johnny Allen Hendrix) (27 พฤศจิกายน ค.ศ. 1942 - 18 กันยายน ค.ศ. 1970) เป็นนักกีตาร์ นักร้อง นักแต่งเพลงชาวอเมริกัน เขาได้รับการยอมรับว่าเป็นนักกีต้าร์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ดนตรีร็อก โดยนักดนตรีและนักวิจารณ์มากมายในแวดวงบันเทิง และเป็นหนึ่งในบุคลสำคัญที่มีบทบาทต่อดนตรีหลายๆ แนวในยุคของเขาหลังจากประสบความสำเร็จในยุโรปในช่วงแรก จึงเริ่มมีชื่อเสียงในสหรัฐอเมริกา หลังจากการแสดงใน มอนเทอเรย์ป็อปเฟสติวัล ต่อมาเขาก็ได้เล่นเป็นวงหลักในเทศกาลวู้ดสต็อกปี 1969 และเทศกาลไอเซิลออฟไวต์ ในปี 1970 บ่อยครั้งเฮนดริกซ์ชอบที่จะใช้เสียงโอเวอร์ไดรว์ฟแบบดิบๆ จากตู้แอมป์ร่วมกับ Gain (ปริมาณเสียงที่ส่งมาจากกีต้าร์) จำนวนมาก รวมไปถึง Treble (เสียงย่านแหลม) ด้วย ซึ่งได้ช่วยพัฒนาเทคนิคในการทำให้เกิดเสียง Feedback (เสียงหอน) จากแอมป์กีต้าร์เฮนดริกซ์เป็นหนึ่งในนักดนตรีที่ทำให้แป้นเหยียบวาห์-วาห์ ได้รับความนิยมในดนตรีร็อกกระแสหลัก ซึ่งเขามักจะใช้เพื่อขยายขอบเขตของระดับเสียงในโซโล่ของเขา โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับการดันสายที่เป็นเสียงสูง และการใช้เลกาโตที่ยืนพื้นบนสเกลเพนตาโทนิก เขาได้รับอิทธิพลในการเล่นมาจากศิลปินในแนวบลูส์ เช่น B. B. King, Muddy Waters, Howlin' Wolf, Albert King และ Elmore Jame นักกีต้าร์แนวอาร์แอนด์บีและโซล อย่าง Curtis Mayfield, Steve Cropper เช่นเดียวกับดนตรีโมเดิร์นแจ๊ส ในปี 1966 เฮนดริกซ์ผู้ซึ่งได้ร่วมเล่นและบันทึกเสียงกับวง ลิตเทิล ริชาร์ด ในระหว่างปี 1964 ถึง 1965 ได้เคยบอกว่า "ผมอยากจะทำกับกีต้าร์ของผมในสิ่งที่ลิตเทิล ริชาร์ดทำกับเสียงร้องของเขา


คาร์ลอส ซานตาน่า ได้ให้ความเห็นว่าดนตรีของเฮนดริกซ์อาจจะได้รับอิทธิพลมาจากวิถีชีวิตของชาวอเมริกันของเขา ในฐานะโปรดิวเซอร์ เฮนดริกซ์ได้ใช้ห้องบันทึกเสียงในการต่อยอดความคิดของเขา ซึ่งเขาเป็นคนแรกๆ ที่ได้ทดลองเกี่ยวกับเสียงแบบสเตอริโอ และ เทคนิค Phasing สำหรับบันทึกเสียงเพลงร็อก

คาร์ลอส ซานตาน่า

เฮนดริกซ์ ได้รับรางวัลที่มีเกียรติเกี่ยวกับวงการเพลงร็อกมากมายตลอดชีวิตเขา และยังได้รับเพิ่มมาหลังจากที่เขาเสียชีวิตไปแล้วอีกมาก รวมถึงได้มีชื่ออยู่ในยูเอสร็อกแอนด์โรลฮอลออฟเฟม ในปี 1992 และยูเคมิวสิกฮอลออฟเฟมในปี 2005 ที่อังกฤษก็มีป้ายชื่อของเขา ณ บ้านที่เขาเคยอาศัยที่ถนนบรู๊ก ใน ลอนดอน เมื่อเดือนกันยายนปี 1997 ดาวที่เป็นชื่อของเขาที่ฮอลลีวูดวอล์กออฟเฟม(ตั้งอยู่ที่ 6627 ฮอลลีวูด บูเลวาร์ด) ได้ถูกทำขึ้นมาในปี 1994 ในปี 2006 ผลงานอัลบั้มเปิดตัวในยูเอสของเขา อาร์ ยู อิคเพียเรียนซ์ (อังกฤษ: Are You Experienced) ได้รับเลือกให้อยู่ใน United States National Recording Registry และนิตยสารโรลลิงสโตน ให้เฮนดริกซ์อยู่อันดับ 1 ในบรรดานักกีตาร์ ในหัวข้อ 100 อันดับ นักกีตาร์ที่ยอดเยี่ยมที่สุดตลอดกาล ในปี 2003 เขายังเป็นคนแรกที่ถูกเสนอชื่อเข้าสู่ Native American Music Hall of Fame อีกด้วย



jimi hendrix  SOLO


                                                         The Jimi Hendrix Experience - Foxey Lady



ขอบคุณคลิปวีดีโอจาก Youtube

ประวัติดนตรี Rock 'n' Roll

ประวัติดนตรี  Rock 'n' Roll


THE STORY OF ROCKเมื่อปี 1955 ร็อคแอนด์โรลล์ (Rock 'n' Roll) ทำให้โลกดนตรีมีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ โดยเกิดดนตรีรูปแบบใหม่ ซึ่งมีเนื้อหาทั้งหวาน ทั้งร้อนแรง โศกเศร้า จริงใจ เปิดเผย ผสมผสานกันด้วยความรุนแรง เร่าร้อน ดุดัน แต่บางขณะกลับอ่อนหวานเกินคาดเดา Rock 'n' Roll เมื่อ Bill Haley and his Comets นำเพลง (We're Gonna) Rock Around the Clock ขึ้นอันดับ 1 ในบิลล์บอร์ดชาร์ท เมื่อวันที่ 9 ก.ค.1955 และอยู่ในตำแหน่งนั้นนานถึง 8 สัปดาห์ติดต่อกัน ดนตรี ร็อคแอนด์โรลล์ (Rock 'n' Roll) ได้เกิดขึ้นแล้ว Chuck Berry, Little Richar, Fats Domino, Bo Diddley, Ray Charles เป็นศิลปินผิวดำที่ร่วมสร้างดนตรีร็อคแอนด์โรลล์ขึ้นมาเมื่อกลางทศวรรษ ที่ 50 ด้วยเพลงร็อคดีๆมากมาย แต่ดูเหมือนร็อคแอนด์โรลล์จะขาดอะไรไปบางอย่าง จนการมาถึงของหนุ่มนักร้องผิวขาวที่ชื่อ เอลวิส เพรสลีย์ (Elvis Presley) ต้นปี 1956 เอลวิส ในวัย 21 กับเพลง Heartbreak Hotel ที่ขึ้นอันดับ 1 ก็โด่งดังไปทั่วโลกอย่างรวดเร็ว เอลวิสมีเพลงฮิตหลายเพลงในปีนั้นเช่น Blue Suede Shoes, I Want You I Need You I Love You, Hound Dog, Don't Be Cruel, Love Me, Anyway You Want Me และ Love Me Tender ส่งผลให้เขากลายเป็นราชาร็อคแอนด์โรลล์ไปในทันที Carl Perkins, Jerry Lee Lewis, Buddy Holly, Gene Vincent, The Everly Brothers, Ricky Nelson, Roy Orbison เป็นศิลปินรุ่นต่อมาที่ได้ร่วมสร้างดนตรี ร็อคแอนด์โรลล์ให้แข็งแรงขึ้น ดนตรี ร็อคแอนด์โรลล์ เกิดจากส่วนผสมของดนตรีหลายอย่างที่มีอยู่ก่อนหน้านั้น เช่น Country, Gospel, Blues และ Rhythm and Blues แต่ก็ต้องขอบคุณต่อเสน่ห์ของเอลวิส ที่ทำให้ร็อคแอนด์โรลล์โด่งดังและเติบโต มาได้ถึงทุกวันนี้ แต่แล้ว เมื่อต้นทศวรรษที่ 60 ดนตรี ร็อคแอนด์โรลล์ เกือบจะพบจุดจบ เพราะความคลั่งไคล้ในร็อคแอนด์โรลล์ ก่อให้เกิดการเลียนแบบอย่างไร้สาระ ถึงแม้จะมีศิลปินเกิดใหม่มากมาย แต่ก็ไม่ได้มีการพัฒนาอย่างจริงจัง คราวนี้ร็อคแอนด์โรลล์ต้องขอบคุณต่อหนุ่มชาวอังกฤษ 4 คน ในนามของ The Beatles


เอลวิส เพรสลีย์ (Elvis Presley)


                                                               The Beatles

British Invasion
บริทิช อินเวชั่น (Britiah Invasion) เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อปี 1964 โดยคณะนักดนตรีจากอังกฤษจำนวนมากมาย นำรูปลักษณ์ และบทเพลงใหม่ๆ ออกท้าทายวงการร็อคแอนด์โรลล์ มันกลายเป็นการพัฒนาดนตรีร็อคครั้งยิ่งใหญ่ที่สุด หลังจากเอลวิส เพรสลีย์ และนักดนตรีชาวอเมริกันหลายคนสร้างขึ้นมา แม้พวกเขาจะเป็นเพียงหนุ่มวัยรุ่น 4 คน ที่เกิดมาในครอบครัวของชนชั้นกรรมาชีพจากเมืองลิเวอร์พูล ประเทศอังกฤษ แต่เมื่อได้รวมตัวกันในนามของ The Beatles และสร้างผลงานเพลงขึ้นมา พวกเขาก็ไม่ใช่แค่วงดนตรีธรรมดา เดอะ บีเทิลส์ ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงหลายสิ่งหลายอย่าง ไม่ใช่เพียงแค่ในวงการดนตรี แต่ยังหมายถึง แฟชั่น วัฒนธรรม ศิลปทุกแขนง ไปจนถึงการเมือง อิทธิพลของพวกเขาไม่ใช่แค ทรงผม ท่าทาง เสื้อผ้า หรือรองเท้าเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงแนวความคิด วิถีชีวิต และความเป็นอยู่ของคนรุ่นใหม่อย่างที่ไม่มีใครคาดคิดมาก่อน ว่าจะมีสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้น มีกลุ่มนักดนตรีจากอังกฤษจำนวนมากมาย ที่ร่วมขบวนการมากับเดอะ บีเทิลส์ แต่ที่ได้รับความนิยมมาถึงปัจจุบันได้แก่ The Rolling Stones, The Kinks และ The Who รวมทั้งที่กลายเป็น ศิลปินเดี่ยวที่มีชื่อเสียง เช่น Jeff Beck, Steve Winwood, Van Morrison และ Eric Clapton ในขณะที่ British Invasion กำลังครอบครองวงการร็อคแอนด์โรลล์และวงการ พ็อพ (Pop) อย่างหนักนี้ ดนตรีอเมริกันเจ้าของเพลงร็อคแอนด์โรลล์ ก็เริ่มการโต้ตอบ กลับโดยดนตรี ริธึมแอนด์บลูส์ ( Rythm and Blues) ซึ่งเริ่มพัฒนามาเป็นเพลงร็อคเต็มตัว เช่นเพลงทั้งหมดจาก Motown ที่ ภายหลังถูกเรียกว่า เพลงโซล (Soul) อีกส่วนหนึ่งมาจากดนตรีของ The Beach Boys และที่สำคัญที่สุด มาจากนักร้องนักแต่งเพลงโฟล์คที่ชื่อ Bob Dylan แต่การต่อสู้ที่เข้มข้นบนอันดับเพลงในช่วงนี้ กลับเป็นการพัฒนาดนตรีร็อค ครั้งสำคัญที่สุด มันทำให้เพลงร็อคมีคุณค่าและเป็นที่ยอมรับของสังคมทั่วไป




                                                                           Eric Clapton


Psychedelicปี 1967 วงการร็อคพัฒนาตัวเองไปอีกก้าวใหญ่ ถึงแม้ความจริง มันจะเป็นยุคแห่งความยุ่งยากทางการเมือง ยุคแห่งการเรียกร้องสันติภาพ ยุคแห่งการเติบโตของยาเสพติด แต่กลับกลายเป็นพลังให้ดนตรีร็อคพัฒนาตัวแทรกเข้าถึงดนตรีประเภทอื่นๆ และย้อนกลับมาเป็นดนตรีร็อคของพวกเขาอย่างเต็มภาคภูมิ Blues-Rock, Folk-Rock, Country-Rock เกิดขึ้นในช่วงนี้ จากการนำของวงดนตรีอย่างเช่น The Byrds, The Cream, The Paul Butterfield Blues Band จากนั้นก็มุ่งเข้าสู่ยุค Psychedelic อย่างเต็มตัวจากเพลงของ The Beatles, Jefferson Airplane, The Grateful Dead, The Doors, Pink Floyd, Jimi Hendrix และ Janis Joplin 
อีกสิ่งที่สำคัญในการพัฒนาดนตรีร็อคในช่วงนี้ คือ ดนตรีโซล (Soul) จากบริษัทแผ่นเสียง Stax1 ซึ่งได้นำจังหวะเพลงที่เต็มเปี่ยมด้วยพลัง เข้ามาสู่เพลงร็อค และแนบสนิทเป็นเนื้อเดียวกันอย่างแทบไม่น่าเชื่อ Rock, Hard Rock, Heavy Metal, Soft Rock ตั้งแต่ต้นทศวรรษที่ 70 เป็นต้นมา ไม่มีใครหยุดยั้งร็อคแอนด์โรลล์ได้ มันเจริญ เติบโตด้วยตัวของมันเองส่วนหนึ่งและอีกส่วนหนึ่งเกิดจากการผสมผสานกับดนตรีรูปแบบอื่น อย่างไร้พรหมแดน แต่อย่างน้อยเราก็เห็นว่า มันมีแนวทางที่ชัดเจนอยู่ 2 อย่างคือ Hard Rock เป็นดนตรีที่หนักหน่วง และ Soft Rock เป็นร็อคที่นุ่มนวลกว่า


                                                            Jimi Hendrix


Pink Floyd


Hard Rock, Heavy Metal
ในทางด้านดนตรีนั้น ทั้ง Heavy Metal และ Hard Rock มีความใกล้เคียง กันมาก จนแทบจะแยกกันไม่ออก โดยทั้งสองแนวนี้จะใช้เสียงในการเล่นที่ดัง เครื่องดนตรีส่วนใหญ่ จะเป็นกีตาร์ เบส และกลอง บวกกับเสียงร้อง ที่ต้องใช้พลัง มีสิ่งหนึ่งที่พอจะแยกความแตกต่างระหว่าง Heavy Metal กับ Hard Rock คือ ดนตรีในแบบ Hard Rock นั้น จะมีเสียงของดนตรีบลูส์ และร็อคแอนด์โรลล์ ปะปนอยู่ แต่ใน Heavy Metal นั้นมีน้อยมาก ในช่วงต้นยุคทศวรรษ 70 นั้น Heavy Metal ซึ่งได้เติบโตมาจาก Hard Rock ก็เจริญงอกงามและได้วางรากฐานของตัวมันเอง ด้วยการเล่นที่ดุดัน หนักหน่วง ร้อนแรง ผู้ฟังส่วนใหญ่เป็นวัยหนุ่มสาว ที่ต้องกาารสื่อสารกับคนภายนอก แสดงออกชัดอย่างโจ่งแจ้งทางอารมณ์และความคิด สิ่งเหล่านี้ถือว่าเป็นสิ่งแปลกใหม่ และแหวกขนบธรรมเนียมของสังคม ที่ผ่านมานั้นมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ทั้งแง่บวกและ แง่ลบกันอยู่เสมอเกี่ยวกับดนตรี Heavy Metal หากแต่ดนตรีประเภทนี้ก็ยังมี การพัฒนาต่อเนื่องและเป็นที่ยอมรับ มาเรื่อยๆ ตั้งแต่ 1970 เป็นต้นมา ดนตรี Hard Rock และ Heavy Metal ได้ แตกแขนงออกไปจนมีลักษณะเฉพาะของตัวเองแยกออกไปเป็นชื่อต่างๆ ที่เรียกตาม ลักษณะดนตรี บางครั้งแบ่งตามลักษณะของการแต่งตัว แบ่งตามลักษณะของเนื้อหา ซึ่งมีชื่อเรียกแตกต่างกันได้แก่ Glam Rock, Arena Rock, Boogie Rock, Pop- Metal, British Metal, Thrash, Neo-Classic Metal, Speed Metal, Death Metal, Guitar Virtuoso, Progressive Metal, Punk Rock, Rap Rock. Soft Rock
Soft Rock เกิดขึ้นอย่างชัดเจนในตอนต้นของปี 1970 มีลักษณะเพลงที่เรียบง่าย ทำนองรื่นหู มีความสวยงาม อ่อนโยน และเป็นที่ชื่นชอบของผู้ฟังทั่วไป ศิลปินที่ มีชื่อเสียงและทำให้คนยอมรับเพลงเหล่านี้ ได้แก่ The Carpenters, Bread, Carole King, The Eagles, Elton John และ Chicago ซึ่งสร้างผลงาน ดนตรีที่มีความเรียบง่ายหากแต่มีความไพเราะและกลายเป็นบทเพลงที่ยิ่งใหญ่ในเวลาต่อมา กลายเป็นจุดเริ่มต้นของงาน ที่ให้ความสำคัญกับความอ่อนหวานในบทเพลง ตลอดทศวรรษที่ 70 ดนตรีร็อคได้มีการพัฒนาและแตกแขนงกลายเป็นดนตรีอีกหลาย แนว โดยมีชื่อเรียกต่างกันออกไป ได้แก Pop Rock, Pop Dance, Dance, Easy Listening, Folk Rock, Jazz Rock , Disco และอื่นๆ
ปัจจุบันดนตรี Rock ได้วางรากฐานไว้ในดนตรีแทบทุกประเภท โดยมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ดนตรี ร็อคยังคงพัฒนาไม่หยุดยั้ง และคงยังได้รับความนิยมอยู่เสมอมา
It's Only Rock 'n' Roll (But I Like It)
- The Rolling Stones

 

                                                                            Metallica     
 


                                                                                Slipknot

ประวัติดนตรีแจ๊ส (jazz)

ประวัติดนตรีแจ๊ส (jazz)

แจ๊ส (Jazz) เป็นลักษณะดนตรีชนิดหนึ่งที่พัฒนามาจากกลุ่มคนดำในสหรัฐอเมริกา (African Americans) ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 20 โดยมีลักษณะพิเศษคือโน้ตบลูส์ การลัดจังหวะ จังหวะสวิง การโต้และตอบทางดนตรี และการเล่นสด โดยแจ๊สถือเป็นลักษณะดนตรีคลาสสิคชนิดหนึ่งของสหรัฐอเมริกา



ความหมายของคำว่า แจ๊ส
          ความหมายของคำว่าแจ๊ส เคยมีผู้พยายามนิยามความหมายไว้หลายแบบ ซึ่งยากต่อการนิยาม ตามความหมายของคำว่าแจ๊สในในพจนานุกรมไทยวัฒนาพานิช โดย วิทูลย์ สมบูรณ์ หมายถึง ดนตรีเต้นรำเล่นลัดจังหวะ, เล่นดนตรีชนิดนี้, เต้นรำ เข้ากับดนตรีชนิดนี้ สำหรับพจนานุกรมฉบับอ๊อกฟอร์ดให้คำจำกัดความไว้ว่า "เป็นดนตรีที่ถือกำเนิดจากชาวอเมริกันเชื้อสายแอฟริกันซึ่งมีจังหวะชัดเจนที่เล่นอย่างอิสระโดยการประสานกันขึ้นเองของนักดนตรีในขณะที่กำลังบรรเลง"
          ดุ๊ก เอลลิงตันเคยพูดไว้ว่า "แจ๊สก็คือดนตรีทั้งหมดรวมกัน" ซึ่งก็มีนักวิจารณ์พูดว่า เอลลิงตันนั้นจริงๆ แล้วเขาไม่ได้ทำดนตรีแจ๊ส เพื่อนของเอลลิงตันอีกคนชื่อ เอิร์ล ไฮนส์ กล่าวไว้ว่า มันคือ "ดนตรีเปลี่ยนรูป" ส่วนเบน แรตลิฟฟ์ นักวิจารณ์จากนิวยอร์กไทม์สเคยกล่าวไว้ว่า "ตัวอย่างที่ดีที่จะอธิบายขึ้นตอนของแจ๊สมันไม่มีเลย"


ประวัติดนตรีแจ๊ส
          ดนตรีแจ๊สมีต้นกำเนิดราวทศวรรษ 1920 โดยวงดนดรีวงแรกที่นำสำเนียงแจ๊สมาสู่ผู้ฟังหมู่มากคือ ดิ ออริจินัล ดิกซีแลนด์ แจ๊ส แบนด์ (The Original Dixieland Jazz Band: ODJB) ด้วยจังหวะเต้นรำที่แปลกใหม่ ทำให้โอดีเจบีเป็นที่กล่าวขวัญกันอย่างมาก พร้อมกับให้กำเนิดคำว่า "แจ๊ส" ตามชื่อวงดนตรี โอดีเจบีสามารถขายแผ่นได้ถึงล้านแผ่น
          รากลึกของแจ๊สนั้นมีมาจากเพลงบลูส์ (Blues)คนผิวดำที่เล่นเพลงบลูส์เหล่านี้เรียนรู้ดนตรีจากการฟังเป็นพื้นฐาน จึงเล่นดนตรีแบบถูกบ้างผิดบ้าง เพราะจำมาไม่ครบถ้วน มีการขยายความด้วยความพึงพอใจของตัวเองเป็นหลัก ซึ่งกลายเป็นที่มาของคีตปฏิภาณ (Improvisation)
          ในภายหลังดนตรีแร็กไทม์ (Ragtime) ก็เชื่อว่ามีต้นกำเนิดคล้ายๆ กันคือ เกิดจากดนตรียุโรปผสมกับจังหวะขัดของแอฟริกัน บลูส์และแร็กไทม์นี่เองที่เป็นรากของดนตรีแจ๊สในเวลาต่อมา
          เพลงบลูส์เริ่มได้รับความนิยมในช่วงเวลาเดียวกันกับแร็กไทม์ ปลายๆ ทศวรรษ 1910 เพลงบลูส์และแร็กไทม์ถูกผสมผสานจนกลมกลืนโดย บัดดี โบลเดน (Charles Joseph 'Buddy' Bolden) เป็นผู้ริเริ่ม หากแต่เวลานั้นยังไม่มีการประดิษฐ์คำว่าแจ๊สขึ้นมา และเรียกดนตรีเหล่านี้รวมๆ กันว่า "ฮ็อต มิวสิก" (Hot Music) จนกระทั่งโอดีเจบีโด่งดัง คำว่า แจ๊ส จึงเป็นคำที่ใช้เรียกขานกันทั่ว แจ๊สในยุคแรกนี้เรียกกันว่าเป็น แจ๊สดั้งเดิม หรือ นิวออร์ลีนส์แจ๊ส




ทศวรรษที่ 1920 และ 1930

          สหรัฐเขาร่วมสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ทางการสั่งปิดสถานเริงรมณ์ในนิวออร์ลีนส์ ทำให้นักดนตรีส่วนใหญ่เดินทางมาหากินในชิคาโก นิวยอร์ก และ ลอสแอนเจลิส ทั้งสามเมืองจึงกลายเป็นแหล่งบ่มเพาะนักดนตรีแจ๊สในช่วงนั้ ชิคาโกดูจะเป็นเมืองที่มีความก้าวหน้าทางดนตรีแจ็สเหนือกว่าอีกสองเมือง เพราะมีนักดนตรีมาทำงานมาก ชิคาโกเป็นเมืองที่ทำให้ หลุยส์ อาร์มสตรอง (Louis Armstrong) เป็นที่รู้จัก และกลายเป็นนักดนตรี นักร้องแจ๊สชื่อก้องโลกในเวลาต่อมา ในด้านการพัฒนา ชิคาโกมีดนตรีแจ๊สที่สืบสายมาจากนิวออร์ลีนส์แต่มีลักษณะเฉพาะตัว มีการทดลองจัดวงในแบบของตัวเอง เริ่มเอาเครื่องดนตรีใหม่ๆ เช่นแซ็กโซโฟนมาใช้รวมกับ คอร์เน็ต ทรัมเป็ต มีการทดลองแนวดนตรีใหม่ๆ เช่น การเล่นเปียโนแบบสไตรด์ (Stride piano) ของเจมส์ จอห์นสัน (James P. Johnson) ซึ่งมีพื้นฐานจากแร็กไทม์ การทดลองลากโน้ตให้ยาวจนผู้ฟังคาดเดาได้ยากของอาร์มสตรอง และการปรับแพทเทิร์นของจังหวะกันใหม่เป็น Chicago Shuffle
          ส่วนนิวยอร์กรับหน้าที่เป็นศูนย์กลางของแจ๊สในยุคปลายทศวรรษ 1920 แทนชิคาโก ดนตรีแจ๊สในนิวยอร์กพัฒนาเพื่อเป็นดนตรีเต้นรำให้ความสนุกสนานบันเทิง และเป็นที่มาของ สวิง (Swing) และ บิ๊กแบนด์ (Big Band)
          สวิงเป็นดนตรีที่ก่อให้เกิดการจัดวงแบบใหม่ที่เรียกว่า "บิ๊กแบนด์" ซึ่งได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว และองค์ประกอบของวงก็เริ่มลงตัว มีการแบ่งโครงสร้างเครื่องดนตรีเป็นสามส่วนคือ เครื่องทองเหลือง คือ กลุ่มแตรซึ่งมีทรัมเปทและทรอมโบนเป็นหลัก จำนวน3-5 คัน ,เครื่องลมไม้ มีแซกโซโฟนเป็นหลัก จำนวน 3-5 คันและมักมีคลาริเนต ไว้ให้นักแซกโซโฟนเพื่อให้เล่นสลับกันด้วย และเครื่องให้จังหวะ ได้แก่ กลองชุดซึ่งมีกลองเพิ่มเติม และกระดึงกับฉาบเพิ่มขึ้นอีก นอกจากนี้ มีเปียโน สตริงเบส และกีตาร์ ส่วนแบนโจก็จะถูกแทนที่ด้วยเปียโน
          ศิลปินที่แจ้งเกิดในยุคนี้เช่น เอลลา ฟิทซ์เจอรัลด์ (Ella Fitzgerald) บิลลี ฮอลิเดย์ (Billy Holiday) และหลุยส์ อาร์มสตรอง จุดเด่นของนักร้องแจ๊สคือการ "สแกต" (Scat) หรือเปล่งเสียง ฮัมเพลง แทนเครื่องดนตรี ซึ่งนับเป็นการแสดงคีตปฏิภาณของนักร้อง




ทศวรรษที่ 1940

          เพลงสวิงมาถึงจุดอิ่มตัวเมื่อนักดนตรีเริ่มเบื่อหน่ายการจัดวงและการเรียบเรียงที่ค่อนข้างตายตัว จึงเริ่มเกิดการหาแนวทางใหม่ๆ เล่นตามความพอใจหลังการซ้อมหรือเล่นดนตรี หรือเรียกว่า "แจม" (Jam session) ชาร์ลี "เบิร์ด" พาร์คเกอร์ (Charlie "Bird" Parker) นักแซ็กโซโฟน และ ดิซซี่ กิลเลสปี (Dizzy Gillespie) นักทรัมเป็ต เสนอแจ๊สในแนวทางใหม่ขึ้นมา เมื่อทั้งสองร่วมตั้งวงห้าชิ้นและออกอัลบั้มตามแนวทางดังกล่าว คำว่า "บีบ็อพ" (Bebop) "รีบ็อพ" (Rebop) หรือ "บ็อพ" (Bop) ก็กลายเป็นคำติดปาก
          คำว่าบีบ็อพเชื่อกันว่ามาจากสแกตของโน้ตสองตัว (การร้องโน้ต2 ตัวเร็วๆ ) บ็อพมีสุ้มเสียง จังหวะ การสอดประสานที่ต่างไปจากสวิงค่อนข้างมาก เช่นจังหวะไม่ได้บังคับเป็น 4/4 เหมือนสวิง ใช้คอร์ดแทน (Alternate chords) ในขณะที่โซโลและการแสดงคีตปฏิภาณยังคงวางบนคอร์ดเดิม




ทศวรรษที่ 1950

          ไมล์ส เดวิส และ จอห์น โคลเทรน (John Coltrane) ก็มาลงตัวกับท่วงทำนองที่ใช้ฮาร์โมนีของโหมด (Mode) มากกว่า คอร์ด กลายมาเป็น โมดัลแจ๊ส(Modal Jazz) ในเวลาต่อมา โดยมีอัลบั้ม Kind of Blues ของเดวิสในปี 1959 เป็นเหมือนจุดเริ่มต้นของฟรีแจ๊ส การใช้โหมดทำให้นักดนตรีสามารถโซโล หรือแสดงคีตปฏิภาณได้อิสระยิ่งขึ้น เพราะไม่มีข้อจำกัดเรื่องคอร์ดเหมือนที่ผ่านมา จึงเกิดสเกลแปลกใหม่มากมาย
          ต่อมา ออร์เน็ต โคลแมน (Ornette Coleman) นักแซ็กโซโฟนก็เสนออีกแนวทางหนึ่งที่ให้อิสระยิ่งกว่าโมดัลแจ๊ส คือดนตรีสายฟรีแจ๊ส (Free Jazz) ซึ่งเน้นปฏิสัมพันธ์เป็นแกน อาศัยความรู้สึกและคีตปฏิภาณอย่างหนักหน่วง ซึ่งมีโครงสร้างของเพลงเพียงคร่าวๆ เท่านั้น หลายๆ เพลงไม่มีแม้แต่จังหวะทำนอง ไม่มีห้องดนตรี และมักเน้นจังหวะตบหรือการรักษาความเร็วจังหวะน้อยกว่าแจ๊สยุคก่อนๆ ส่วนเครื่องดำเนินจังหวะ และแนวเบสได้รับการเน้นให้มีอิสระในการบรรเลงมากขึ้น
          ดนตรีในแนวฟรีแจ๊สและที่ใกล้เคียงกันในเวลานั้นทั้งหมดเรียกรวมว่า "อวองต์ การ์ด" (Avante Garde) นอกจาก โคลแมนแล้ว ผู้ที่มีชื่อเสียงในฟรีแจ๊ส เช่น อัลเบิร์ต ไอย์เลอร์ (Albert Ayler) ซึ่งเป็นผู้ชักนำให้ โคลเทรนหันมาสนใจฟรีแจ๊สในระยะหลังๆ




ทศวรรษที่ 1970

          หลังจากช่วงทศวรรษ 1960 ซึ่งเป็นยุคที่เพลงร็อก (ร็อกแอนด์โรล) มีอิทธิพลต่อวงการเพลง หลังกำเนิดฟรีแจ๊ส ในช่วงต้นทศวรรษ 1970 ได้เกิดดนตรีแจ๊สอีกแนวที่เรียกว่า ฟิวชัน (Fusion) ซึ่งบ่งชี้ถึงการนำดนตรีสองแนวหรือมากกว่ามาหลอมรวมกัน ซึ่งในช่วงนั้นคือการรวมกันของดนตรีแจ๊สเข้ากับร็อกเป็นหลัก โดยการใช้รูปแบบจังหวะ และสีสันของเพลงร็อก เครื่องดนตรีในวงฟิวชั่นมักประกอบด้วยเครื่องดนตรีสองประเภททั้ง เครื่องดนตรีดั้งเดิม และเครื่องดนตรีไฟฟ้า หรืออีเลคโทรนิค มีกลุ่มเครื่องประกอบจังหวะที่ใหญ่กว่าแจ๊สยุคก่อนๆ และมักมีเครื่องดนตรีต่างชาติอื่นเช่น เครื่องดนตรีจากแอฟริกา ลาตินอเมริกา หรืออินเดียและอีกสองลักษณะเด่นของฟิวชั่นแจ๊สคือ แนวทำนองของอีเลคโทรนิคเบสและการซ้ำทวนของจังหวะ
          ไมล์ส เดวิส นักปฏิวัติดนตรีแจ๊ส ก็ได้หยิบเอาโครงสร้างของร็อกมารวมกับแจ๊ส ทดลองใช้เครื่องดนตรีไฟฟ้า เครื่องดนตรีประเภทสังเคราะห์เสียง โดยเริ่มจากอัลบั้ม In A Silent Way ก่อนจะมาเป็นอัลบั้ม Bitches Brew ซึ่งเป็นต้นแบบของแนวฟิวชันในเวลาต่อมา




แจ๊สยุคใหม่

          ยุคหลังทศวรรษ 1970 ฟิวชันไม่ได้ครอบคลุมเพียงแจ๊ส-ร็อก หากรวมถึงดนตรียุคหลัง เช่น แจ๊ส-รึทึมแอนด์บลูส์ แจ๊ส-ฟังกี้ แจ๊ส-ป๊อป เป็นต้น ฟิวชันยุคหลังนี้มีอิทธิพลกับแนวดนตรีนิวเอจ (New Age) และ เวิลด์ มิวสิก (World Music) ในเวลาต่อมาโดยมีสังกัด ECM และ วินด์แฮม ฮิล (Windham Hill) นักดนตรีฟิวชันที่โด่งดังมีหลายคน เช่น คีธ จาร์เร็ต (Keith Jarrett)แพท เมธินี (Pat Metheny) บิลล์ ฟริเซล (Bill Frisell) โตชิโกะ อะกิโยชิ (Toshiko Akiyoshi) ซาดาโอะ วาตานะเบ (Sadao Watanabe) เป็นต้น
          ช่วงต้นทศวรรษที่ 80 แจ๊สได้รับความนิยมระดับนึงมีการผสมแจ๊สเข้ากับป็อป เรียกป็อปฟิวชัน หรือ สมูธแจ๊ส ประสบความสำเร็จในยอดการเปิดออกอากาศในสถานีวิทยุ นักแซกโซโฟนสมูธแจ๊สอย่าง กรูเวอร์ วอชิงตัน จูเนียร์,เคนนี จี และ นาจี เพลงของพวกเขาเล่นในสถานีวิทยุโดยมักจะทำเพลงร่วมกับเพลงแนว ไควเอ็ดสตรอมในตลาดคนผิวสีในสหรัฐอเมริกา อย่างเช่นเล่นในเพลงของศิลปินอย่าง อะนิทา เบเกอร์ ,ชากา คาน,อัล จาร์รู และชาเด เป็นต้น
          มีความพยายามหาสุ้มเสียงใหม่ๆ จากฟิวชันเหมือนกัน เช่น แอซิดแจ๊ส (Acid Jazz) หรือกรูฟแจ๊ส (Groove Jazz)ซึ่งเป็นผลการผสมระหว่างแจ๊ส โซล ฟังกี้ และฮิปฮอป เช่น จามิโรไคว์ (Jamiroquai) อีกแนวที่ใกล้กับแอซิดแจ๊สคือ นูแจ๊ส (Nu Jazz) หรือ อิเล็กโทรแจ๊ส (Electro-Jazz) ซึ่งเกิดในปลายทศวรรษ 1990 โดยนำเนื้อหนังของแจ๊สมาผสมผสานด้วยดนตรีอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องสังเคราะห์เสียง เช่น วงอิเล็กโทรนิกา (Electronica)




               

Powerchord ( Rock )

Powerchord ( Rock )

 power chord นั้น เป็นเป็นคอร์ดที่ให้เสียงหนักแน่นมีพลัง การจับ power chord นั้นจะคล้ายกับการจับคอร์ดทาบมากแต่จะจับน้อยกว่า โดย Power chord นั้นจะจับอยู่ที่ สาย 3 4 5 6 
      การจับ Power Chord นั้นจับได้สองแบบคือการจับแบบโน๊ตคู่ห้า และ แบบทั้งคู่ห้าและคู่แปด การจับแบบหลังนี้(คู่5และคู่8)จะให้เสียงที่ครบกว่าออกเสียงกลางมากขึ้น ส่วนการนำไปใช้นั้นว่าควรจะจับแบบใหนก็ต้องดูเพลงที่เล่นว่าเป็นแบบใด Power Chord ที่เล่นในเพลงนั้นเล่นเป็นกีต้าร์หลักหรือเล่นเป็นRhythmให้จังหวะเป็นแบ็คกราว์ด ถ้าเล่นเป็น Rhythm ก็ควรจะจับแบบคู่5มากกว่าเพราะจะไม่ออกเสียงกลางมากไม่ทำให้ไปกลบเสียงของกีต้าร์หลัก แต่ถ้าเล่น Power Chord เป็นกีต้าร์หลักก็ควรจะจับแบบที่สอง(แบบคู่5และคู่8)เพราะเสียงจะออกไปทางเสียงกลางชัดเจนมากขึ้นและเสียงจะพุ่งกว่าการจับแบบแรกฟังแล้ว เข้าถึงอารมณ์ของเพลงมากกว่า

โครงสร้าง เพาเวอร์คอร์ด

      การเปลี่ยนคอร์ดนั้นสามารถเลื่อนฟอร์มการจับขึ้นลงได้เหมื่อนกับคอร์ดทาบ ตัวอย่างเช่น จับคอร์ด F อยู่ ถ้าเลื่อนเข้ามาหาตัว 1 ช่องก็จะเป็นคอร์ด F#, 2 ช่องก็จะเป็นคอร์ด G 
      การจับ Power Chord บางคอร์ดที่ต้อง Muted เสียงที่สาย 6 จะใช้นิ้วกลางเตะไว้ที่สายเพื่อไม่ให้เกิดเสียงที่สายนั้น ตัวอย่างการจับคอร์ด C Power Chord ดังรูปด้านล่าง







                                                                   

Scale Guitar

Scale Guitar

เมเจอร์ สเกล นั้นเป็นหลักพื้นฐานของสเกลอื่นๆ ทุกสเกลจะสร้างขึ้นมาโดยยึดหลักพื้นฐานโครงสร้างมาจากเมเจอร์สเกล ดังนั้น เมเจอร์สเกลจึงถือเป็นแม่แบบของสเกลอื่นๆ

      สเกล ก็คือ กลุ่มของโน๊ตที่เรียงกัน เป็นลำดับขั้น มีการจัดเรียงระดับของเสียงอย่างมีรูปแบบ มีเสียงห่างกันเป็นที่แน่นอน เวลาเล่นกลุ่มโน๊ตนั้นๆ จะได้สำเนียง เป็นแบบๆไป เป็นสำเนียงเฉพาะตัวของสเกลนั้นๆ เช่น สเกล Major (เมเจอร์) จะให้ความรู้สึกที่สนุกสนาน ฟังสบาย สเกล Minor (ไมเนอร์) จะให้ความรู้สึกที่เศร้า เหงา หดหู่... 
      ความหมายของ OCTAVE คือ โน้ตตัวเดียวกัน ที่เสียงสูงขึ้น หรือต่ำ ลงมา 8 ขั้น เช่น ในเมเจอร์สเกล โน้ตตัวแรก กับ ตัวสุดท้ายจะห่างกัน 1 OCTAVE

     โครงสร้างของ Major Scale

s
Major Scale, เมเจอร์ สเกล


       โครงสร้างของของเมเจอร์สเกลนั้นคือ โน้ตตัวที่ 3 กับ 4 และ 7 กับ 8 จะห่างกันแค่ครึ่งเสียง ส่วนโน้ตตัวอื่นจะห่างกัน 1 เสียงเต็ม

C Major Scale, เมเจอร์ สเกล
TAB ของ C Major Scale

      ลองฝึกไล่สเกลตามแท็บด้านบนดูนะครับ การฝึกไล่สเกลจะเป็นพื้นฐานที่ใช้ในการเล่น Solo การแกะเพลง ทำให้เราเล่นได้คล่องขึ้น และยังสามารถทำให้เราจำโน๊ตหรือรูปแบบการไล่สเกลบนคอกีตาร์ได้... 


C Major Scale, เมเจอร์ สเกล
ตำแหน่งโน๊ตบนคอกีต้าร์ ของ C Major Scale ตามแท็บด้านบน





ขอบคุณข้อมูลจาก www.folkpeople.com

การจับคอร์ดกีต้าร์ไฟฟ้า

การจับคอร์ดกีต้าร์ไฟฟ้า

คอร์ดกีต้าร์ คอร์ดหลักๆที่สามารถพบได้บ่อยๆ คอร์ด Major และ Minor
      โดยหลักๆแล้วเราสามารถแบ่งคอร์ดที่สำคัญ และพบได้บ่อยๆ ออกได้เป็นสองทางหลักๆก็คือ คอร์ดทางเมเจอร์(Major) และคอร์ดทางไมเนอร์(Minor) ( ไม่ใช่ว่าคอร์ดจะมีแค่เมเจอร์ และไมเนอร์เท่านั้นนะครับ ยังมีคอร์ดแบบอื่นอีกมาก เช่นคอร์ดเซเว่น(7) คอร์ดซัสโฟว์(sus4) คอร์ดออกเมนเต็ด(+) เป็นต้น แต่จะพูดถึงและยกตัวอย่างคอร์ดหลักๆที่พบได้บ่อยๆก่อน )
      คอร์ดทาง Major เช่นคอร์ด C, E, F, G ซึ่งจริงๆแล้วจะมีคำว่า “major” ต่อท้ายชื่อคอร์ดเอาไว้ เช่นคอร์ด C จะเขียนเละเรียกเต็มๆว่า “Cmajor” (ซีเมเจอร์) แต่เวลาเขียนชื่อคอร์ดส่วนใหญ่แล้วเราจะไม่เขียนคำว่า “major” เอาไว้ ดังนั้นเวลาเจอคอร์ด ไม่ว่าจะเป็นคอร์ด C หรือ Cmajor ให้จำไว้ว่ามันคือคอร์ดเดียวกัน แต่ส่วนมากจะเขียนและเรียกสั้นๆว่า “คอร์ด C” เท่านั้น
      คอร์ดทาง Minor เช่นคอร์ด Am, Em, Fm, Gm สังเกตว่าจะมีตัวเอ็มเล็ก “m” ต่อท้าย ซึ่งก็แทนคำว่า “Minor” นั้นเอง เช่นคอร์ด Em ก็จะอ่านว่า “อีไมเนอร์”, คอร์ด Am ก็จะอ่านว่า “เอไมเนอร์” ดังนี้เป็นต้น
      Tip1: การที่จะสังเกตว่าคอร์ดนั้นเป็นคอร์ดทางเมเจอร์ หรือไมเนอร์นั้น ให้ดูว่ามีตัว m (เอ็มเล็ก) ต่อจากชื่อคอร์ดหลักหรือไม่ ตัวอย่างเช่นคอร์ด Cm7,C#m7 มีก็แสดงว่าเป็นคอร์ดทางไมเนอร์, คอร์ด C7,Csus4 ไม่มี m (เอ็มเล็ก) ก็แสดงว่าเป็นคอร์ดทางเมเจอร์ รู้แล้วจะนำไปใช้ประโยชน์อะไรได้ละ? ดู tip2 ต่อครับ
      Tip2: การเล่นคอร์ดในเพลงจริงๆนั้น บางเพลงอาจจะมีคอร์ดที่จับอยาก หรือเราไม่เคยจับมาก่อน ไม่รู้ว่าจะต้องจับคอร์ดนั้นยังไง เราก็จับคอร์ดหลักแทน เช่น คอร์ด Cadd9 เราก็จับ คอร์ด C แทน, คอร์ด Bm9 ก็จับคอร์ด Bm แทน (บางท่านอาจจะ งง ว่าทำไมคอร์ด Bm9 ถึงไม่จับคอร์ด B แทนละ ทำไมถึงเป็น Bm ก็เพราะว่าคอร์ด Bm9 เป็นคอร์ดทางไมเนอร์นั้นเอง(สังเกตโดย tip1ที่ผ่านมา) การจะใช้คอร์ดหลักแทนนั้นต้องใช้ให้ถูกต้องนะครับ ต้องรู้ว่าคอร์ดที่เราจะจับแทนนั้นเป็นคอร์ดทางเมเจอร์ หรือไมเนอร์ เพราะว่าอารมณ์ของเสียงเมเจอร์กับไมเนอร์นั้นแตกต่างกันมากเลยทีเดียว) 
      ปล. Tip2 นี้แนะนำให้ใช้กับคนที่กำลังหัดเล่นหรือว่ายังจับคอร์ดที่ยากๆแปลกๆไม่ได้เท่านั้น ทางที่ดีควรจะจับให้ถูกต้องตามคอร์ดของเพลง จะได้เข้าถึงอารมณ์ของเพลงตามที่ผู้แต่งได้ถ่ายทอดไว้ในบทเพลงนั้นๆ และบางคอร์ดนั้นก็มีเสียงที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ไม่สามารถที่จะแทนได้ด้วยคอร์ดหลัก.


โครงสร้างของคอร์ด
      ก่อนจะเข้าเรื่องโครงสร้างของคอร์ด เรามาทำความรู้จักกับ Major Scal “เมเจอร์สเกล” กันก่อน
      เมเจอร์ สเกล นั้นถือว่าเป็นหลักพื้นฐานของสเกลอื่นๆ ทุกสเกลจะสร้างขึ้นมาโดยยึดหลักพื้นฐานโครงสร้างมาจากเมเจอร์สเกลเสมอ ดังนั้น เมเจอร์สเกลจึงถือเป็นแม่แบบของสเกลอื่นๆทั้งหมด รวมถึงการสร้างคอร์ดอีกด้วย โครงสร้างของของเมเจอร์สเกลนั้นคือ
โน้ตตัวที่ [ 3 กับ 4 ] และ [ 7 กับ 8 ] จะห่างกันแค่ครึ่งเสียง ส่วนโน้ตตัวอื่นจะห่างกัน 1 เสียงเต็ม
(ดูโครงสร้างของเมเจอร์สเกลได้จากรูปด้านล่าง)
โครงสร้างของเมเจอร์สเกล

คอร์ดกีต้าร์ - โครงสร้างของเมเจอร์สเกล


      ตัวอย่างแรก คอร์ดเมเจอร์ (Major)
      หลักในการสร้างคอร์ดเมเจอร์ก็จะยึดเอาโครงสร้างของเมเจอร์สเกลมาใช้ในการสร้างคอร์ด เช่นคอร์ด C ก็จะประกอบไปด้วยโน้ตตัวที่ 1,3,5 ของ C Major Scal = [C] – D - [E] – F - [G] – A – B ดังนั้นคอร์ด C ก็จะมีตัวโน้ต C – E – G เป็นต้น



ส่วนสูตรโครงสร้างของ Minor Scale ก็คือลดเสียงของโน้ตตัวที่ 3, 6 และ 7 ของเมเจอร์สเกล ลงครึ่งเสียง
(ดูโครงสร้างของไมเนอร์สเกลได้จากรูปด้านล่าง)
โครงสร้างของไมเนอร์สเกล

คอร์ดกีต้าร์ - โครงสร้างของไมเนอร์สเกล

      ตัวอย่างที่สอง คอร์ดไมเนอร์ (Minor)
      หลักในการสร้างคอร์ดไมเนอร์นั้น ก็จะยึดเอาโครงสร้างของเมเจอร์สเกลมาใช้ในการสร้างคอร์ดเช่นกัน เช่นคอร์ด Am ก็จะประกอบไปด้วยโน้ตตัวที่ 1,b3,5 ของ A Major Scal = [A] – B - [C#] – D - [E] – F# – G# สังเกตว่าโน้ตตัวที่ 3 จะติดแฟล็ท(เครื่องหมาย Flat : b หมายถึงลดเสียงลงครึ่งเสียง, เครื่องหมายชาร์ฟ Sharp : # หมายถึงเพิ่มเสียงขึ้นครึ่งเสียง) แล้วทำไมโน้ตตัวที่ 3 ถึงติดแฟล็ท ก็เพราะว่าเป็นคอร์ดไมเนอร์นั้นเองจึงต้องอิงกับโครงสร้างของไมเนอร์สเกลที่ว่า [ลดเสียงของโน้ตตัวที่ 3, 6 และ 7 ของเมเจอร์สเกล ลงครึ่งเสียง] จึงเกิดเครื่องหมาย b (แฟล็ท) หน้าตัวโน้ตตัวที่ 3 จึงได้เป็น 1,b3,5 นั้นเอง โน๊ตตัวที่ 3 ของ A Major Scal ก็คือ C# เมื่อติดแฟล็ทก็จะได้เป็น C นั้นเอง ดังนั้นคอร์ด Am ก็จะมีตัวโน้ต A – C – E ดังนี้เป็นต้น
รูปตัวอย่างคอร์ดกีต้าร์ คอร์ด Am










การใส่สายกีต้าร์ไฟฟ้า

การใส่สายกีต้าร์


                                                         การใส่สายกีต้าร์ไฟฟ้าทั้วไป






การใส่สายกีต้าร์ไฟฟ้าทรง Floydrose






                                                      การใส่สายกีต้าร์ไฟฟ้าทรง  Strat





ขอบคุณวีดีโอจาก  Youtube