วันอังคารที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2558

ส่วนประกอบของกีต้าร์

ส่วนประกอบของกีต้าร์ 
ประกอบด้วย 3 ส่วนหลักๆ คือ ส่วนหัว ส่วนคอ และลำตัว มีดังนี้
1. ส่วนหัวกีตาร์(Head)

           PegHead หมายถึงส่วนที่ประกอบขึ้นเป็นหัวนั่นเอง  ซึ่งประกอบด้วย
1. ลูกบิด หรือ Tuner หรือ เรียกเต็มๆ Tunning Machine :Tuner นั้น ปัจจุบันมีหลายแบบ ทั้งแบบล๊อคได้ และล๊อคไม่ได้ 
2. ส่วนคอกีตาร์(Neck)

          คอ หรือ Neck เป็นส่วนที่สำคัญที่ขาดไม่ได้ของกีต้าร์ทุกตัว (แต่หัวขาดได้ นะ อย่าง Headless หรือกีตาร์หัวตัดทั้งหลาย  คอของกีต้าร์ประกอบด้วย 
1. เฟรท ( Fret ) คือส่วนที่บอกช่องของคอกีตาร์นั่นแหละ
2. เฟรทบอร์ด(FretBoard ) หรีอ ฟิงเกอร์บอร์ด ( FingerBoard )ส่วนนี้จะเป็นส่วนที่มีไว้เพื่อฝังเฟรท และลายบนคอกีต้าร์ ( Inlay ) หรือฝังมุกที่บอกว่าอยู่เฟรทไหน ข้างใต้เฟรทบอร์ด ก็จะมีเหล็กดามคอ  (Trussrod) เอาไว้เพื่อปรับความโค้งของคอ ให้พอดีกับแรงดึงสาย และคอบางรุ่น จะมีขอบ( สีขาวหรือสีดำ ) มันก็คือ Binding นั่นเอง ซึ่ง Binding นี้ ไม่ค่อยได้มีผลอะไรกับกีต้าร์ นอกจากทำให้ขอบของคอ ลื่น และเพิ่มความสายงามเท่านั้นครับ


3. ลำตัว( Body )

           ลำตัวในปัจจุบันมีหลายทรงมาก แต่ที่นิยมที่สุดคือทรง LesPaul และ Stratocaster เสียงของกีต้าร์ จะหนา แหลม โดยผลที่ทำให้เสียงแตกต่างกันคือ ไม้ รูปร่าง และวิธีการประกอบลำตัว ไม่ว่าจะเป็น 1 2 หรือ 3 ชิ้น ใช้ไม้ปะหน้าหรือใช้ไม้อะไรผสมกับอะไร ซึ่งเรื่องนี้เป็นเรื่องยาวเหยียดมากๆ ลำตัวกีต้าร์ประกอบไปด้วย
1. ปิคการ์ด ( PickGuard ) คือแผ่นป้องกันรอยขีดข่วนต่างๆ จากการใช้ปิ๊ค ไปโดนตัวกีต้าร์นั่นเอง นอกจากนั้นกีต้าร์บางตัวก็มันจะเพิ่มความสวยงามด้วยการเดินขอบ ( Binding )


2. ปิ๊กอัพ ( PickUp ) คือตัวรับเสียงจากสายกีต้าร์ไฟฟ้า ทำงานด้วยการเหนี่ยวนำของสายกีต้าร์กับเส้นแรงแม่เหล็ก เมื่อสายกีตาร์แกว่งไปมาก็จะทำให้เส้นแรงแม่เหล็กหรือฟลักซ์แม่เหล็กเกิดการเปลี่ยนแปลง และทำให้เกิดกระแสไฟฟ้าออกมาเป็นคลื่นเสียงจากขดลวดที่พันอยู่บนแม่เหล็ก
          PickUp เรียกอีกอย่างว่าคอนแท็คท์ ( Contact ) หรือ ( tack ) แท็คหมายถึงตัวรับเสียงแบบเปียโซ หรือพายโซ ( Piezo ) มากกว่า ซึ่งมักจะพบได้ในกีต้าร์โปร่งเป็นส่วนใหญ่ 
PickUp  มี 2 แบบ คือ SingleCoil หรือ แบบคอยล์เดี่ยว อย่างกีตาร์ Fender Strato Caster และ                                HumBucker หรือแบบคอยล์คู่ อย่างกีตาร์ ibernez

HumBucker
SingerCoil

3. สะพานสาย ( Bridge ) และ หย่อง ( Saddle )  Bridge คือ ชุดของสะพาน หย่อง คือ ที่รองสายกีตาร์  แยกกันเป็น 2 ประเถทใหญ่ๆ คือแบบโยกไม่ได้ ( Fixed ) และแบบคันโยก ( Tremolo )


4. Selector Switch หรือสวิทช์เลือกปิ๊คอัพ คือ ตามชื่อครับสวิทซ์สำหรับเลือกปิ๊คอัพ  มีอยู่2-3แบบคือ  Toggle 3-Ways หรือ 3 ทางอย่าง Gibson และ แบบ Lever-Action จะมีทั้ง 3 ทาง และ 5 ทาง


5.ชุดคันโยก (tremolo bar) คือ ส่วนที่สามารถโยกสายกีตาร์ไฟฟ้าได้   ปัจจุบันที่ใช้กันคือฟลอยโรสหรือคันโยกอิสระครับ  ซึ่งสามารถโยกขึ้นๆลงๆได้อย่างอิสระช่วยให้นักกีตาร์ สามารถสร้างสรรค์สำเนียงในแบบใหม่ๆได้มากมาย สำหรับคันโยกแบบนี้มักจะมีอุปกรณ์อีกตัวเพิ่มมาคือนัทแบบล็อคสายได้เพื่อช่วยป้องกันสายคลายตัวเมื่อใช้คันโยก จะได้เสียงไม่เพี้ยน



ส่วนประกอบของกีต้าร์ จะมี 2 รูปทรงหลักๆที่เป็นมาตรฐาน คือ Stratocaster และ Les Paul
Stratocaster

Les Paul


วีดีโออธิบายส่วนประกอบต่างๆของกีต้าร์ครับ




วันอังคารที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2558

รูปทรงของ Guitar Electronics

            Guitar Electronics หรือ กีต้าร์ไฟฟ้า มีรูปทรงมากมายหลากหลายแบบ ทั้งที่เป็นมาตรฐาน หรือ รุ่นพิเศษผลิตจำนวนจำกัด หรือ เป็นสัญลักษณ์ประจำตัวนักดนตรีคนนั้นๆ ถ้าจะยกมาทั้งหมดคงเป็นไปได้ยาก แต่คราวนี้จะหยิบยกรูปทรงของกีต้าร์ไฟฟ้ายอดนิยมที่สามารถเห็นได้ทั่วไปมาให้ดู เพื่อเป็นแนวทางให้บางคนที่อยากจะหาซื้อกีต้าร์ไฟฟ้าไว้ อย่างน้อยก็จะได้พิจารณาดูว่าชอบแบบไหนกัน

รูปทรงกีต้าร์ไฟฟ้ายอดนิยม
1. Stratocaster หรือทรงมาตรฐาน (Strat) เป็นทรงตลาดที่ไม่ว่าร้านกีต้าร์ที่ไหนก็มีขาย บางผู้ผลิตก็การทำหัวกีต้าร์ให้แตกต่างกัน แต่ว่ายังเป็นทรงเดิม เจ้าของผู้คิดค้นรูปทรงกีต้าร์นี้ คือ Fender ออกแบบโดย Leo Fender ร่วมกับ George Fullerton และ Freddie Tavares ในปี 1954 ซึ่งถือว่าเป็นทรงกีต้าร์ที่เก่าแก่ และคลาสสิค สามารถเล่นได้กับทุกรูปแบบเพลง


2. Telecaster (Tele) ทรงนี้แต่เดิมชื่อ Broadcaster ออกมาในปี 1950 ตัวกีต้าร์ทรงนี้จะมีความโค้งมน แลความสมดุล โดยผู้ผลิตก็เป็น Fender อีกแล้ว แต่สไตล์เพลงที่เหมาะกับกีต้าร์ทรงนี้จะเป็นแนวพวก Country, Rock และ Jazz


3. Les Paul เจ้าของคือ Gibson ซึ่งเป็นที่นิยมพอๆกับสองทรงด้านบน ออกแบบโดย Ted McCarty ร่วมกับ Les Paul ถูกขายครั้งแรกในปี 1952


4. Flying V (V) เป็นของ Gibson เปิดตัวเมื่อปี 1958 รูปทรงจะออกแนวบ่งบอกถึงความเป็นอิสระจากกรอบเดิม หรือ Futuristic


5. Explorer (Ex) เปิดของ Gibson เช่นกัน เปิดตัวไล่เลี่ยกับ Flying V เป็นที่ติดตลาดและชื่นชอบของนักดนตรีแนว Hard Rock และ Heavy Rock


6. Moderne เป็นอีกทรงที่ Gibson พยายามออกแบบให้เป็นกีต้าร์แห่งอนาคต ออกมาวางจำหน่ายในปี 1982


7. SG เป็นกีต้าร์ที่มีน้ำหนักเบา คอบาง ตัวแบน เปิดตัวในปี 1961 โดย Gibson


8. Firebird X เปิดตัวในปี 1963 โดย Gibson

อันนี้เป็นเพียงตัวอย่างรูปทรงกีต้าร์ที่นิยมกันทั่วไปนะ ถ้าใครอยากรู้รายละเอียด หรืออยากรู้ว่ากีต้าร์ทรงอื่นๆเป็นอย่างไรนอกเหนือจากที่หยิกยกมา ก็ลองหาข้อมูลอื่นๆประกอบดูกันนะ ส่วนถ้าเพื่อนๆชอบกีต้าร์ไฟฟ้าทรงไหนก็ลองไปที่ร้านกีต้าร์ดูว่า ตัวจริงๆมันเป็นยังไง เสียงมันโอเคมั้ย เราชอบหรือเปล่าแล้วราคามันเหมาะสมพอที่เราจะซื้อได้มั้ย

ส่วนอันนี้เป็นวีดีโอแนะนำรูปทรงกีต้าร์ไฟฟ้าที่ผมมีอยู่ เพื่อนๆลองดู แล้วตัดสินใจเอานะครับว่าชอบมั้ย
รูปทรงของกีต้าร์ไฟฟ้า



วันจันทร์ที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2558

เริ่มต้นกับ Guitar Electronics (กีต้าร์ไฟฟ้า)


             Guitar Electronics หรือ กีต้าร์ไฟฟ้า เป็นกีต้าร์อีกประเภทหนึ่งที่ได้รับความนิยมอย่างมากจากทั่วโลก เป็นกีต้าร์ที่มีการติดตั้งอุปกรณ์ pick up เข้าไปแปลงการสั่นของสายกีต้าร์ให้กลายเป็นสัญญาณอิเล็คทรอนิกส์ และส่งผ่านสัญญาณไปยังเครื่องขยายสัญญาณ(Amplifier หรือ ตู้แอมป์) แล้วออกสู่ลำโพงกลายเป็นเสียงดนตรีให้เราได้ยินกัน
             กีต้าร์ไฟฟ้าตัวแรกของโลก เป็นของนักดนตรีและนักประดิษฐ์ชาวอเมริกัน Les Pual เขาเป็นผู้พัฒนากีต้าร์ไฟฟ้าแบบ solid body หรือทรงตัน (ทรงทั่วไปในปัจจุบัน) ต่อมาชื่อของเขาก็กลายเป็นกีต้าร์โมเดลหนึ่งของ Gibson ด้วย รวมถึงยังเป็นทรงกีต้าร์ที่ได้รับความนิยมสูงสุดตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
Les Paul กับ กีต้าร์ไฟฟ้าตัวแรกของโลก
             
             หลังจากนั้นในต้นปี 1940 นักประดิษฐ์ชาวแคลิฟอเนีย Leo Fender เขาได้พยายามพัฒนาและดัดแปลงกีต้าร์โปร่งให้สามารถใช้กับเครื่องขยายเสียงได้ ความพยายามของเขาประสบความสำเร็จในปี 1948 เขาได้กีต้าร์ที่ชื่อว่า Telecaster และเป็นกีต้าร์ไฟฟ้าที่ได้ซื้อขายในเชิงพาณิชย์อย่างเป็นทางการ และได้รับความนิยมจนถึงปัจจุบัน

ประเภทของกีต้าร์ไฟฟ้า
แบ่งตามโครงสร้างของลำตัวกีต้าร์(Body) มี 3 ชนิด
1. กีต้าร์ตัวตัน (Solid Body) เป็นกีต้าร์ไฟฟ้าลักษณะลำตัวทรงตัน ไม่มีการเจาะช่องในลำตัวกีต้าร์ แต่บริเวณลำตัวกีต้าร์จะมีตัวรับสัญญาณแรงสั่นสะเทือนของสายกีต้าร์(pick up) ขณะที่ดีด เพื่อส่งสัญญาณไปยังเครื่องขยายเสียง(ตู้แอมป์) โดยทั่วไปตัวรับสัญญาณแรงสั่นสะเทือน(pick up) มี 2 ประเภท คือ ตัวรับสัญญาณแบบแถวเดี่ยวเรียกว่า Singer coil และแบบแถวคู่ เรียกว่า Humbucker


2. กีต้าร์ลำตัวกึ่งโปร่ง (Semi-Hallow Body) เป็นกีต้าร์ไฟฟ้ามีลักษณะโครงสร้างส่วนกลางของลำตัวในแนวเดียวกับคอกีต้าร์ มีลักษณะตัน (แต่มีการเจาะช่องเพื่อใส่ pick up ลงไปเหมือนกีต้าร์ตัวตัน) บริเวณส่วนข้างของกีต้าร์มีการเจาะช่อง(Sound Hole) เอาไว้ เพื่อให้เกิดการกำทอนของเสียงมากกว่ากีต้าร์ตัวตัน ซึ่งจะให้เสียงเป็นอคูสติกมากขึ้น นิยมใช้ในดนตรีแจ๊สหรือบลูส์ เป็นกีต้าร์ที่ผลิตขึ้น เพื่อลดเสียงรบกวน Feed back ที่เกิดจากกีต้าร์ไฟฟ้าลำตัวโปร่ง (มีเสียงรบกวนแต่น้อยลง)


3. กีต้าร์ลำตัวโปร่ง (Hallow Body) เป็นกีต้าร์ไฟฟ้าที่มีการเจาะช่องเอาไว้(Sound Hole) บริเวณด้านข้างลำตัวกีต้าร์ เพื่อให้เกิดการกำทอนของเสียงเช่นเดียวกับกีต้าร์โปร่งหรืออคูสติก และกีต้าร์ลำตัวกึ่งโปร่ง บริเวณกลางลำตัวจะมีการใส่ pick up เหมือนกับกีต้าร์ตัวตัน ซึ่งผลของการมีช่องกำทอนเสียง ทำให้เนื้อเสียงที่ได้เป็นอคูสติกมากกว่ากีต้าร์ลำตัวกึ่งโปร่ง แต่หากขยายเสียงให้ดังมากจะเกิดเสียงรบกวนเรียกว่า Feed back กีต้าร์ประเภทนี้นิยมใช้กับดนตรีแจ๊สหรือบลูส์เป็นส่วนใหญ่




Sound Guitar Electronics