วันพุธที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2558

ทำความเข้าใจกับตัวโน้ตกีต้าร์

ตัวโน้ตกีต้าร์
           มาเริ่มทำความเข้าใจกับตัวโน้ตแต่ละสายแต่ละเฟร็ตกัน ก่อนอื่นต้องบอกก่อน ตัวโน้ตบนกีต้าร์โปร่งกับกีต้าร์ไฟฟ้านั้นเหมือนกันนะครับ แต่มีวิธีการเล่นที่ต่างกันเท่านั้นเอง จริงๆตัวโน้ตไม่ได้จดจำยากหรอกนะครับ เพราะมันมีเทคนิควิธีการจำง่ายๆอยู่หลายวิธีด้วยกัน แถมตัวโน้ตก็ไม่ได้มีมากมายอะไร มันจะวนกลับไปกลับมาแค่นั้นครับ ถ้าทราบหลักการ เราก็จะไล่หาเจอแน่นอน

ตัวอักษณที่ใช้แทนค่าเสียงโน้ต (ท่องจำขึ้นใจ)
A = ลา           E = มี
B = ที             F = ฟา
C = โด           G = ซอล
D = เร

เครื่องหมายชาร์ป (Sharp) - แฟร็ต (Flat)
   - ชาร์ป (Sharp) เขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ #
หมายถึง ระดับเสียงที่สูงกว่าปกติครึ่งเสียง (semitone) ( สัญลักษณ์ # เป็นเครื่องหมายแปลงเสียง (accidental) ชนิดหนึ่ง และเนื่องจากมีรูปร่างคล้ายเครื่องหมายนัมเบอร์ # เครื่องหมายนัมเบอร์จึงถูกเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ชาร์ป )
   - แฟร็ต (Flat) เขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ b
มีรูปร่างคล้ายกับอักษณ b ตัวเล็ก หมายถึง ระดับเสียงที่ต่ำลงจากปกติครึ่งเสียง (semitone)
ถ้าเราไล่ขึ้นไปตามบันไดเสียง เช่น เสียงสูง ก็จะเป็นทาง Sharp ถ้าไล่เสียงต่ำลงไปก็เป็นทาง Flat ตัวอย่างเช่น สายที่ 1 เฟร็ตที่ 2 คือ เสียง F# หรือ Gb เป็นเสียยงเดียวกันโน้ตเดียวกัน แต่เรียกต่างกัน

โดยปกติโน้ตแต่ละตัวจะมีช่วงห่างกันอยู่ 2 ครึ่งเสียงหรือ 2 เฟร็ตกีต้าร์ แต่สำหรับโน้ต B กับ C และ E กับ F จะไม่มีครึ่งเสียง ดังนี้

| A | A#/Bb | B | C | C#/Db | D | D#/Eb | E | F | F#/Gb | G | G#/Ab |


           การตั้งสายแบบ Standard Tuning หรือตั้งสายตามมาตรฐานทั่วไป จะเห็นว่าโน้ตสายเปล่ากับเฟร็ตที่ 12 เป็นโน้ตตัวเดียวกัน แต่ว่าเสียงสูงไปอีก 1 Octave เฟร็ตที่ 13 ก็จะเป็นโน้ตตัวเดียวกันกับเฟร็ตที่ 1 เฟร็ตที่ 14 ก็จะเป็นโน้ตตัวเดียวกับเฟร็ตที่ 2 ดังรูป



เทคนิคการจำตัวโน้ตบนสายกีต้าร์
วิธีฝึกเริ่มแรก
1. จำโน้ตสายเปล่า
2. จำโน้ตเฟร็ตที่ 5 
3. จำโน้ตเฟร็ตที่ 10
4. ฝึกไล่สเกล

ขั้นตอนการฝึก
1. จำโน้ตสายเปล่า เป็นพื้นฐานสำคัญที่ต้องจำให้ขึ้นใจนะครับ ขั้นแรก ท่องจำเสียงโน้ตประจำสายเปล่า โดยเริ่มจากสายที่ 1 ล่างสุด " มี ที ซอล เร ลา มี " ท่องในใจไปเรื่อยๆ แล้วทำความเข้าใจไปด้วยว่าเริ่มจากสายที่ 1 มี ที ซอล เร ลา มี  ไม่นานก็จะจำได้ขึ้นใจแน่นอน

2. จำโน้ตเฟร็ตที่ 5 วิธีการก็เหมือนกับการจำโน้ตสายเปล่า แต่เปลี่ยนเป็น " ลา มี โด ซอล เร ลา " เวลาท่องก็อาจเป็น 5 ลา มี โด ซอล เร ลา  5 นั้นก็หมายถึง เฟร็ตที่ 5 นั่นเอง โดยเริ่มจากสายล่างขึ้นบนนะครับ

3. จำโน้ตเฟร็ตที่ 10 วิธีการก็เหมือนเดิม เป็น 10 เร ลา ฟา โด ซอล เร  10 ก็เป็นเฟร็ตที่ 10 นะครับ แล้วก็จากสายล่างขึ้นบนเช่นเดิมครับ
          การที่จำเฟร็ตที่ 5 กับเฟร็ตที่ 10 นั้น ก็เพราะเวลาเราไล่หาโน้ต จะได้ไม่ต้องไปเริ่มที่สายเปล่าอย่างเดียว อีกอย่างโน้ตเฟร็ตที่ 5 กับเฟร็ตที่ 10 จะไม่ติดชาร์ปหรือแฟร็ต ทำให้ง่ายต่อการจำครับ



4. ฝึกไล่สเกล หลังจากจำได้แล้วก็มาฝึกซ้อมจริง โดยเริ่มจากฝึกไล่หาเสียงโน้ตแต่ละเฟร็ตแต่ละสาย เริ่มจาก โด เร มี ฟา ซอล ลา ที โด แบบง่ายๆไปก่อน ไล่หาไปเรื่อยๆยังไม่ต้องสนใจสเกลคีย์อะไร โหมดอะไรนะครับ ฝึกไล่หาโน้ตไปเรื่อยๆทั้งคอกีต้าร์ จนคุ้นชิน เราก็จะจำได้เองโดยธรรมชาติ

เพื่อนๆลองเอาไปฝึกกันดูนะครับ มันไม่ได้ยากอย่างที่คิด อยู่ที่เรามั่นฝึกซ้อมบ่อยๆ เราก็จะพัฒนาขึ้นไปเรื่อยๆเช่นกันครับ ขอให้เล่นกีต้าร์อย่างมีความสุขครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น